จุดหลัก

1-1 วัตถุประสงค์

ข้อกำหนดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการลดปริมาณของเสีย โดยดำเนินการรีไซเคิลตัวทำละลายในระดับขนาดกลางและนำกลับมาใช้ใหม่ที่โรงงานผลิตสีเคลือบ,สีทา,หมึกพิมพ์,กาวและวัสดุอื่น ๆ

1-2 สถานะปัจจุบัน

ขณะที่ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นในปีที่ผ่านมา จากการสำรวจของสมาคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งประเทศญี่ปุ่น พบว่าปริมาณขยะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีจำนวน 6.62 ล้านตันในขณะที่ปริมาณนำกลับมาใช้ใหม่เท่ากับ 0.75 ล้านตันหรือคิดเป็น 11% ของขยะทั้งหมด

ในขณะเดียวกัน แม้จะมีบริษัทไม่กี่ร้อยแห่งในญี่ปุ่นที่ปล่อยของเสียจากอุตสาหกกรมเคมี แต่ของเสียที่เป็นของเหลวส่วนใหญ่จะถูกเผาและสารประกอบที่ใช้งานได้อยู่ในนั้นแทบจะไม่ถูกนำมาใช้ซ้ำอีก นี่เป็นความจริงที่น่าเสียดายมากจากมุมมองของการอนุรักษ์ทรัพยากร

1-3 วิธีการทำให้คืนสภาพ

โดยทั่วไปแล้วเทคนิคการแยกตัว อย่างเช่นการกลั่น เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่และเพื่อลดปริมาณของของเสียที่เป็นของเหลว ตัวทำละลายที่ใช้ในการทำความสะอาดของเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานสีเคลือบ,สีทา,หมึกพิมพ์,กาวและวัสดุอื่นๆ มีเรซิ่นจำนวนมากซึ่งเป็นสารประกอบที่เป็นของแข็งรวมทั้งเม็ดสี และสีย้อม และการคืนสภาพตัวทำละลายถือเป็นเรื่องยากมาก อย่างไรก็ตาม

เมื่อตัวทำละลายขนาดเท่าถังถูกนำมาใช้ การรีไซเคิลภายในบริษัทมักถูกละเลยเนื่องจากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต้องใช้แรงงานมาก และคนงานสงสัยในความปลอดภัยของกระบวนการในระหว่างการบำรุงรักษา การทำความสะอาด รวมถึงความยากลำบากในการจัดการ ดังนั้นจึงเป็นผลให้โรงงานที่มีการปล่อยมลพิษขนาดเล็กถึงขนาดกลางจะส่งมอบกระบวนการนี้ให้กับบริษัทแปรรูปขยะอุตสาหกรรมเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากพวกเขาต้องเผชิญกับของเสียในถังปริมาณมหาศาลและเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นซีรี่ส์ CA-800 จึงได้รับการออกแบบให้เป็นระบบอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง เพื่อให้ของเสียที่เป็นของเหลวถูกป้อนเข้าระบบโดยอัตโนมัติและของเหลวที่คืนสภาพผ่านการกลั่นจะสะสมอยู่ในถังคืนสภาพ เมื่อของเหลวสะสมในถังหนึ่งเต็มแล้ว ถังเปล่าก็จะได้รับการติดตั้งในระบบ

นอกจากนี้ยังใช้วิธีการบีบอัดสูญญากาศที่อุณหภูมิต่ำเพื่อกู้คืนเรซิ่น, เม็ดสีและสีย้อมในตัวทำละลายของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและต่อเนื่อง

2. ภาพรวมของระบบ

ตัวทำละลายของเสียถูกดูดโดยตรงจากถังบรรจุที่เต็มไปด้วยตัวทำละลายของเสียและถูกป้อนเข้าระบบการกลั่น

ตัวทำละลายที่ถูกป้อนเข้าระบบจะระเหยและถูกกลั่นภายใต้การบีบอัดสูญญากาศ และจะถูกเก็บสะสมอย่างต่อเนื่องไว้ในถังที่เพิ่งติดตั้งใหม่

สารควบแน่นที่ถูกแยกออกมาซึ่งจะมีปริมาตรลดลง ก็จะได้รับการจัดการเป็นของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป

2-1 มาตรการความปลอดภัย

วิธีการที่ใช้ในการป้องกันการระเบิดคือการกำจัดปัจจัยหนึ่งในสามประการต่อไปนี้:
○สารที่ติดไฟได้ ○ออกซิเจน ○แหล่งกำเนิดประกายไฟ

(1) อุปกรณ์มีการป้องกันการระเบิดและไม่มีแหล่งกำเนิดประกายไฟภายในระบบ

(2) อุณหภูมิได้รับการควบคุมด้วยโครงสร้างที่ปลอดภัยเพิ่มเป็นสองเท่า โดยใช้ตัวควบคุมอิสระ 2 ประเภท

2-2 คุณสมบัติ

(1) สามารถคืนสภาพได้อย่างต่อเนื่องภายใต้การบีบอัดสูญญากาศ

(2) การเปลี่ยนน้ำมันในปั๊มสูญญากาศกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและแรงงานที่ใช้ในการบำรุงรักษาจะลดลง

3. ข้อกำหนดของอุปกรณ์

3-1 รายการอุปกรณ์

4. ขนาดภายนอกและชื่อของแต่ละชิ้นส่วน

5. ตารางขั้นตอนการทำงาน

6. สาธารณูปโภค

การยกเว้น

6-1 สาธารณูปโภคในด้านหลัก

(1) ไฟฟ้า
(2) น้ำหล่อเย็น
(3) อากาศ
(4) (N2)
(5) ท่อไอเสีย

6-2 งานวิศวกรรมและชิ้นส่วนทั้งหมดในอุปกรณ์ต่างๆ รายชิ้น รวมถึงหน่วยเครื่องกลั่นในรายการข้างต้น, หน่วยทำความเย็น

งานโครงสร้างพื้นฐานและงานยึดติด

ระบบระบายไอเสียเฉพาะที่

เมื่อมีการติดตั้งแผงควบคุมและอุปกรณ์ในตำแหน่งที่แยกกัน เช่น คนละห้องกัน จะไม่รวมการเดินสายไฟระหว่างอุปกรณ์และแผงควบคุม

ค่าใช้จ่ายสำหรับการสังเกตการณ์ระหว่างทดลองใช้และการวางท่อ ณ สถานที่ใช้งานจริงภายนอกประเทศญี่ปุ่นจะกำหนดโดยถือเป็นบริการปรึกษาแยกต่างหาก

การยกเว้น

ระบบนี้ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นเพื่อความปลอดภัย แต่ต้องมีการพิสูจน์และตรวจสอบด้านต่อไปนี้เพื่อให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน:

(1) ตัวทำละลายที่ใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานที่ที่มีการติดตั้งเครื่องกลั่น
(2) เมื่อเกินปริมาณที่กำหนดซึ่งรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ อุปกรณ์เหล่านี้ต้องติดตั้งแยกห้องกัน
(3) ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิง (CO2 หรือโฟม)
(4) ต้องมีมาตรการความปลอดภัยเมื่อพื้นที่รอบๆ อุปกรณ์ถูกทิ้งไว้โดยขาดการดูแล
(5) น้ำหล่อเย็นต้องมีพร้อมอย่างเพียงพอ

7-1 ตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่จะกลั่น

8. กฎป้องกันอัคคีภัย

8-1 เมื่อใช้ตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนในระบบของซีรีส์ CA-800 ต้องแจ้งไปยังแผนกดับเพลิงให้ทราบ ยกเว้นในกรณีที่ปริมาณที่ใช้เท่ากับหนึ่งในห้าหรือน้อยกว่าปริมาณที่ระบุไว้ในข้อ 1-11 (ปริมาณที่กำหนดของสารอันตราย) ของ “กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยสารอันตราย” ในพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย

ตารางแนบหมายเลข 3 (คัดลอกมาส่วนหนึ่ง) : ปริมาณที่กำหนด

8-2 ข้อบังคับภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย

1. รัฐบาลท้องถิ่นต่างตีความพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัยต่างกันออกไป ดังนั้นการตีความต้องได้รับการตรวจสอบยืนยันกับแผนกดับเพลิงในท้องถิ่นในบริเวณที่มีการใช้อุปกรณ์

2. สารอันตรายที่มีชื่อผลิตภัณฑ์ต่างกันหรือปริมาณที่กำหนดต่างกัน

เมื่อสารอันตรายสองชนิดหรือมากกว่าซึ่งมีชื่อผลิตภัณฑ์หรือปริมาณที่กำหนดต่างกันถูกเก็บไว้ในที่เดียวกัน หรือเมื่อปริมาณของสารอันตรายที่จัดเก็บหรือจัดการถูกแบ่งเป็นหนึ่งในห้าของปริมาณที่กำหนด และผลรวมของส่วนแบ่งนั้นเท่ากับ 1 หรือมากกว่า สารอันตรายซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่งในห้าของปริมาณที่กำหนดจะถูกพิจารณาให้จัดเก็บหรือจัดการในสถานที่ดังกล่าว